คนไทยเกือบ 1 ใน 4 คิดว่าการจงใจให้ข้อมูลผิดๆ เพื่อขอสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่ออื่นๆ เป็นสิ่งที่ยอมรับได้
กรุงเทพ–(BUSINESS WIRE)–24 กันยายน 2024
FICO (NYSE: FICO):
คนไทย 23% คิดว่าการให้ข้อมูลรายได้เกินจริงเมื่อสมัครขอสินเชื่อเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ในขณะที่อีก 16% ระบุว่าการกระทำเช่นนี้เป็นเรื่องปกติ (กราฟิก: FICO)
ประเด็นสำคัญ
- คนไทยจำนวน 2 ใน 5 (คิดเป็น 39%) คิดว่าการให้ข้อมูลรายได้ของตนที่มากเกินจริงเมื่อสมัครขอสินเชื่อเป็นเรื่องปกติหรือยอมรับได้
- คนไทยจำนวน 1 ใน 7 (คิดเป็น 14%) มองว่าการให้ข้อมูลรายได้ของตนอย่างไม่ถูกต้องเมื่อสมัครขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องปกติ
- การปลอมแปลงใบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันเป็นรูปแบบการฉ้อโกงที่คนไทยรับไม่ได้ที่สุด โดยคนไทยจำนวน 2 ใน 3 (คิดเป็น 68%) มองว่าเป็นการกระทำที่ไม่อาจยอมรับได้
FICO ซึ่งเป็นผู้นำด้านซอฟต์แวร์เพื่อการวิเคราะห์ระดับโลกในปัจจุบันได้เปิดเผยผลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับการฉ้อโกงของผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งเผยให้เห็นทัศนคติที่น่าตกใจเกี่ยวกับการฉ้อโกงทางการเงินของบุคคลที่หนึ่งทั้งในตลาดทั่วโลกและตลาดในประเทศไทย
ผลการสำรวจพบว่า แม้ว่าผู้ทำแบบสำรวจชาวไทยส่วนใหญ่มองว่าการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จเมื่อสมัครผลิตภัณฑ์ทางการเงินและเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจะเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ แต่ประชากรจำนวนมากกลับไม่คิดเช่นนั้น
ชาวไทยจำนวน 2 ใน 5 คิดว่าการให้ข้อมูลรายได้ของตนอย่างไม่ถูกต้องเมื่อขอเปิดบัญชีธนาคาร (คิดเป็น 39%) สมัครขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย (คิดเป็น 39%) และสมัครขอสินเชื่อรถยนต์ (คิดเป็น 39%) เป็นเรื่องปกติหรือยอมรับได้ในบางกรณี นอกจากนี้ ชาวไทยจำนวน 2 ใน 5 (คิดเป็น 39%) ยังมองว่าการให้ข้อมูลรายได้ที่มากเกินจริงเมื่อสมัครขอสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นเรื่องปกติหรือยอมรับได้
มุมมองเหล่านี้สอดคล้องกับทัศนคติของผู้คนทั่วโลกเป็นอย่างมาก โดยผลการสำรวจเปิดเผยว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (คิดเป็น 56%) ปฏิเสธอย่างหนักแน่นต่อแนวคิดในการให้ข้อมูลรายได้ที่มากเกินจริงเมื่อสมัครขอสินเชื่อ โดยมองว่าเป็นการกระทำที่ไม่อาจยอมยอมรับได้เป็นอย่างยิ่ง ในขณะที่ผู้บริโภคจำนวน 1 ใน 4 (คิดเป็น 24%) คิดว่าเป็นการกระทำที่ยอมรับได้ในบางสถานการณ์ และผู้บริโภคจำนวน 1 ใน 7 (คิดเป็น 15%) มองว่าเป็นเรื่องปกติ
“ผู้บริโภคต้องเข้าใจว่าการให้ข้อมูลผิดๆ เมื่อสมัครผลิตภัณฑ์ทางการเงินอาจทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ร้ายแรงตามมาได้ แม้ว่าจะให้ข้อมูลผิดๆ โดยไม่ตั้งใจก็ตาม” คุณ Aashish Sharma หัวหน้าส่วนงานด้านการจัดการวงจรความเสี่ยงและการตัดสินใจประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ FICO กล่าว “ธนาคารสามารถแก้ไขปัญหาที่แท้จริงเกี่ยวกับ “การขอสินเชื่อด้วยข้อมูลเท็จ” ได้โดยปรับปรุงความสามารถในการตรวจจับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยป้องกันหนี้เสีย และในขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้ลูกค้ากระทำการฉ้อโกงได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.fico.com/en/latest-thinking/ebook/consumer-survey-2023-digital-banking-customer-preferences-and-fraud-controls
การยอมรับการสมัครขอสินเชื่อที่ส่อทุจริตสร้างความวิตกกังวลให้กับบรรดาผู้ให้กู้
ผลสำรวจของ FICO เปิดเผยว่าผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 1 ใน 4 (คิดเป็น 25%) มองว่าการให้ข้อมูลเท็จเมื่อสมัครขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในบางกรณี ในขณะที่ผู้บริโภคจำนวน 1 ใน 5 (คิดเป็น 14%) มองว่าเป็นเรื่องปกติ ข้อมูลนี้สอดคล้องกับปัญหาการผิดนัดชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ตามรายงานของสถาบันข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ที่เน้นย้ำถึงความท้าทายด้านการประเมินความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาบันการเงินในประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้
แม้ว่าข้อมูลในใบสมัครขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้าเดิมจะดูถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็อาจมีการใช้ความสัมพันธ์ด้านการธนาคารที่มีมาแต่เดิมเพื่อกระทำการฉ้อโกงได้เช่นกัน ผู้สมัครสามารถบิดเบือนกระบวนการกู้ยืมด้วยการให้ข้อมูลรายได้ที่สูงกว่าความเป็นจริง เช่น ใส่ข้อมูลรายรับจากการประกอบอาชีพอิสระหรือเงินโบนัสที่มากเกินจริง รวมถึงไม่ใส่ข้อมูลหนี้สินหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเงินส่วนตัวที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ให้กู้ตรวจพบข้อมูลที่คลาดเคลื่อนเหล่านี้ได้ยากหากไม่มีมาตรการตรวจสอบความถูกต้องในเชิงรุกและละเอียดถี่ถ้วน
“ธนาคารจำเป็นต้องยกระดับกลยุทธ์การประเมินความเสี่ยงเพื่อรับมือกับการสมัครขอสินเชื่อที่ส่อทุจริต” คุณ Sharma กล่าว “กลยุทธ์นี้ควรประกอบไปด้วยการบูรณาการการวิเคราะห์ข้อมูลที่ครอบคลุม การนำการวิเคราะห์การตรวจหาความผิดปกติมาใช้ และเพิ่มความสามารถในการตรวจหาสัญญาณเริ่มต้นของการฉ้อโกงแบบบัญชีฉ้อฉลหรือการฉ้อโกงที่กำลังจะเกิดขึ้น”
การปลอมแปลงใบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันเป็นการฉ้อโกงที่รับไม่ได้ที่สุด
งานวิจัยของ FICO ระบุว่า การปลอมแปลงใบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเป็นรูปแบบการฉ้อโกงที่หลายคนรับไม่ได้ที่สุด โดยผู้บริโภคทั่วโลกประมาณ 2 ใน 3 คิดว่าการแจ้งมูลค่าทรัพย์สินที่ถูกขโมยสูงเกินจริงหรือเพิ่มรายการสิ่งเรียกร้องสินไหมทดแทนเท็จเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้โดยสิ้นเชิง ซึ่งมุมมองนี้สอดคล้องกับความเห็นของผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 2 ใน 3 (คิดเป็น 68%)
ทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ที่เปลี่ยนไปก็สอดคล้องกับแนวโน้มทั่วโลกเช่นกัน โดยผู้บริโภคที่โลกครึ่งหนึ่งรวมถึงผู้บริโภคชาวไทยกว่าครึ่งหนึ่งมีความเห็นว่าการให้ข้อมูลรายได้เกินจริงเมื่อทำสัญญาโทรศัพท์มือถือ (คิดเป็น 55%) หรือการสมัครขอสินเชื่อรถยนต์ (คิดเป็น 57%) เป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้
“ผลสำรวจของ FICO เผยให้เห็นว่าผู้คนจำนวนมากปรับเปลี่ยนมุมมองที่ตนมีต่อการฉ้อโกงการสมัครขอสินเชื่อตามแต่สถานการณ์” คุณ Sharma กล่าว “สถาบันการเงินต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ป้องกันการฉ้อโกงอยู่เสมอ เพื่อให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างเท่าทัน ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจว่าลูกค้าจะไม่ถูกชักจูงให้ทำกิจกรรมที่ผิดจริยธรรมหรือผิดกฎหมายโดยไม่ตั้งใจ”
การสำรวจนี้จัดทำขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2023 โดยบริษัทวิจัยอิสระซึ่งปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรมการวิจัย โดยมีชาวไทยในวัยผู้ใหญ่ 1,002 คนทำแบบสำรวจนี้ รวมถึงผู้บริโภครายอื่นๆ อีกราว 12,000 คนในแคนาดา สหรัฐอเมริกา บราซิล โคลอมเบีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย สหราชอาณาจักร และสเปน
สามารถรับชมภาพในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่: https://www.businesswire.com/news/home/54124883/en
เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย
ข้อมูลติดต่อ
Lizzy Li
RICE for FICO
+65 9034 7768
lizzy.li@ricecomms.com
Saxon Shirley
FICO
+65 9171 0965
saxonshirley@fico.com
ที่มา: FICO.
You must be logged in to post a comment.