Berkshire Partners ประกาศปิดระดมทุนครั้งที่ 11 โดยได้รับเงินทุนประมาณ 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Logo

ถือเป็นการระดมทุนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติ 40 ปีของบริษัท

บอสตัน–(BUSINESS WIRE)–30 ตุลาคม 2024

Berkshire Partners (“Berkshire”) บริษัทหุ้นนอกตลาดในบอสตันที่มุ่งเต้นตลาดระดับกลางประกาศปิดระดมทุนครั้งที่ 11 (“การระดมทุนครั้งที่ 11”) ของ Berkshire ในวันนี้ โดยได้รับเงินทุนประมาณ 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นเงินทุนจำนวนมากที่สุดของ Berkshire นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทในปี 1986 การระดมทุนครั้งที่ 11 ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งทางบริษัทเชื่อมั่นว่ายิ่งตอกย้ำถึงแรงสนับสนุนจากนักลงทุนต่อกลยุทธ์การลงทุนในตลาดระดับกลางของบริษัท

“เรารู้สึกขอบคุณที่ได้รับแรงสนับสนุนมากถึงระดับนี้จากสุดยอดกลุ่มนักลงทุนชั้นยอดระดับสากล ทั้งรายเดิมและรายใหม่ เนื่องจากอุปสงค์เกินปริมาณเงินทุนเป้าหมายเดิมของเราไปอีก” Mike Ascione ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของ Berkshire Partners กล่าว “เราชื่อว่าผลดำเนินงานของทีมงานของเราที่สนับสนุนบริษัทในตลาดระดับกลางที่มีศักยภาพสูงให้พลิกโฉมไปสู่การเป็นผู้นำอย่างยั่งยืนทั่วทุกวงจรทางเศรษฐกิจนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่น และเราก็มั่นใจว่าเรามีความสามารถเหมาะสมที่จะนำเงินไปลงทุนและสร้างผลตอบแทนจำนวนมากภายในภาคส่วนที่เรามุ่งเป้าต่อไปได้”

ในฐานะบริษัทที่เชี่ยวชาญในหลายภาคส่วนที่มุ่งเน้นกับตลาดระดับกลาง Berkshire ตั้งกลยุทธ์เพื่อมุ่งเป้าไปที่โอกาสในการร่วมเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทที่ดำเนินงานอยู่ใน 4 ภาคส่วนอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ บริการและอุตสาหกรรม ผู้บริโภค การดูแลสุขภาพ ตลอดจนเทคโนโลยีและการสื่อสาร ความรู้ความเชี่ยวชาญของทีมลงทุนที่ตั้งมั่นตามเป้าหมายและปฏิบัติงานมาเป็นระยะเวลานานส่งผลให้บริษัทพร้อมระบุโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจ รวมถึงใช้ทรัพยากรและเงินทุนที่จำเป็นเพื่อนำทางบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ให้ผ่านการขยับขยายและปรับปรุงการดำเนินงานทุกขั้นไปได้

Kirkland & Ellis LLP ปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายให้แก่ Berkshire Partners

เกี่ยวกับ Berkshire Partners
Berkshire Partners เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในหุ้นนอกตลาดและหุ้นในตลาดหลักทรัพย์หลายภาคส่วน โดยที่พนักงานถือสิทธิ์เป็นเจ้าของบริษัท 100% ทีมงานด้านหุ้นนอกตลาดของบริษัทลงทุนกับบริษัทต่าง ๆ ที่มีศักยภาพและกำลังเติบโตในธุรกิจบริการและอุตสาหกรรม ผู้บริโภค การดูแลสุขภาพ และเทคโนโลยีและการสื่อสาร นับตั้งแต่ก่อตั้ง Berkshire Partners ได้ลงทุนในหุ้นนอกตลาดมากกว่า 150 รายการและมีผลการดำเนินงานเด่นชัดที่แสดงให้เห็นถึงการร่วมมือกับทีมบริหารจัดการเพื่อพัฒนาบริษัทที่ตนลงทุนให้เติบโต กลุ่มหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทอย่าง Stockbridge ที่ก่อตั้งในปี 2007 มุ่งบริหารจัดการกลุ่มหลักทรัพย์ โดยแสวงหาการลงทุนระยะยาวที่น่าสนใจ หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่ www.berkshirepartners.com

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

ข้อมูลติดต่อ

Greg Winter
Berkshire Partners
gwinter@berkshirepartners.com

แหล่งที่มา: Berkshire Partners

แปซิฟิค ไพร์ม ไทยแลนด์ คว้ารางวัล “Top Production Award 2024” จากแปซิฟิค ครอส

Logo

กรุงเทพฯ–(BUSINESS WIRE)–28 ตุลาคม 2024

แปซิฟิค ไพร์ม ไทยแลนด์ บริษัทนายหน้าประกันสุขภาพระดับโลก ได้รับรางวัล “Top Production Award 2024” ในงาน Hangout Luxury Party 2024 ซึ่งจัดขึ้นโดยแปซิฟิค ครอส โดยพิธีมอบรางวัลจัดขึ้น ณ โรงแรม โซ แบงคอก เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2024 และมีคุณ Ricky Batten ผู้จัดการทั่วไป แปซิฟิค ไพร์ม ไทยแลนด์ และคุณ Viktor Voll หัวหน้าทีม CRM เป็นผู้รับมอบรางวัลอันทรงเกียรตินี้ โดยเป็นการมอบให้เพื่อเชิดชูผลงานอันโดดเด่นในการให้บริการด้านประกันสุขภาพทั้งสำหรับองค์กรและแผนประกันสุขภาพระหว่างประเทศ สำหรับลูกค้ารายบุคคลในประเทศไทย

Left to right: Yotsawanrangsikorn Saksinghanatra (Chief Operating Officer at Pacific Cross), Ricky Batten (General Manager at Pacific Prime Thailand), Viktor Voll (CRM Team Lead at Pacific Prime Thailand) (Photo: Business Wire)

จากซ้ายไปขวา : ยสวันต์รังษิกร ศักยดิ์สิงหนาท (ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ แปซิฟิค ครอส), Ricky Batten (ผู้จัดการทั่วไป แปซิฟิค ไพร์ม ไทยแลนด์) และ Viktor Voll (หัวหน้าทีม CRM แปซิฟิค ไพร์ม ไทยแลนด์) (ภาพ : Business Wire)

คุณ Ricky Batten ผู้จัดการทั่วไปของแปซิฟิค ไพร์ม ไทยแลนด์ ได้กล่าวแสดงความรู้สึกว่า “ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ในการรับมอบรางวัลจากแปซิฟิค ครอสในนามของพนักงานทุกคนที่แปซิฟิค ไพร์ม ไทยแลนด์ ความสำเร็จครั้งนี้เกิดขึ้นได้จากความทุ่มเทของทีมงานที่ยึดมั่นในการให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับแรกและการส่งมอบบริการที่เป็นเลิศ รางวัลนี้ยังเป็นการเฉลิมฉลองความร่วมมืออันมีความหมายยิ่งกับแปซิฟิค ครอส ที่ช่วยให้เราสามารถนำเสนอโซลูชันประกันที่มีคุณภาพสูงและมีการปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง ผมขอแสดงความขอบคุณเป็นพิเศษต่อ ดร. Khanh Bui ผู้ดำรงตำแหน่ง CEO ของแปซิฟิค ครอส สำหรับการสนับสนุนอันมีค่าตลอดปีที่ผ่านมา และผมพร้อมที่จะร่วมสร้างความสำเร็จต่อไปในอนาคต”

เกี่ยวกับแปซิฟิค ครอส :

Pacific Cross Insurance Company Limited ดำเนินธุรกิจในฐานะผู้รับประกันภัยและผู้บริหารจัดการแผนประกันภัยในประเทศไทย โดยมีแปซิฟิค ครอส อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นผู้บริหารจัดการแผนประกันในระดับนานาชาติ

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแปซิฟิค ครอส ได้ที่ : www.pacificcrosshealth.com

เกี่ยวกับแปซิฟิค ไพร์ม

แปซิฟิค ไพร์ม ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 เป็นบริษัทนายหน้าประกันภัยระดับโลกและผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิการพนักงานที่ได้รับการยอมรับผ่านรางวัลมากมาย นำเสนอโซลูชันประกันภัยทั้งแบบบุคคลและองค์กร ด้วยมูลค่าเบี้ยประกันภัยภายใต้การบริหาร 750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปัจจุบันแปซิฟิค ไพร์ม ก้าวขึ้นเป็นนายหน้าด้านสวัสดิการพนักงานที่ใหญ่เป็นอันดับสามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายหลังการเข้าซื้อกิจการธุรกิจนายหน้าของ CXA Group ในปี 2021 บริษัทมีพนักงานกว่า 1,000 คน และสำนักงาน 15 แห่งทั่วโลก ประกอบด้วย ฮ่องกง สิงคโปร์ จีน ไทย มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินโดนีเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแปซิฟิค ไพร์ม ได้ที่ : https://www.pacificprime.com/corporate

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

สามารถรับชมภาพในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่: https://www.businesswire.com/news/home/54142144/en

ข้อมูลติดต่อ

Stephen Ho
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด
แปซิฟิค ไพร์ม

+852 3589 0508

แหล่งที่มา : แปซิฟิค ไพร์ม

บริษัท Starr Insurance ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการสาขาในกรุงโซลได้

Logo

นิวยอร์ก–(BUSINESS WIRE)–28 ตุลาคม 2024

 บริษัท Starr Insurance ได้ประกาศว่าคณะกรรมการด้านบริการการเงินของเกาหลีใต้ได้ให้ใบอนุญาตแก่บริษัท Starr International Insurance (Singapore) Pte. Ltd. สาขาเกาหลี เพื่อดำเนินกิจการในกรุงโซลและสามารถเริ่มต้นจำหน่ายประกันภัยทรัพย์สินเชิงพาณิชย์/อุบัติเหตุทั่วประเทศเกาหลีได้

Paul Choi ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น CEO ของบริษัท Starr สาขาเกาหลีในเดือนพฤษภาคม 2024 เขามีประสบการณ์ด้านการประกันภัยและนายหน้ารวมถึงผู้ให้บริการมามากกว่า 30 ปี อีกทั้งยังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการจัดการความเสี่ยงและประกันภัยจากมหาวิทยาลัย Georgia State อีกด้วย

Phil Finley ผู้เป็นประธานของบริษัท Starr Asia Pacific กล่าวว่า: “เกาหลีเป็นตลาดประกันภัยเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย และ Starr มีประวัติการดำเนินงานในภูมิภาคนี้มายาวนาน เราคาดว่าเกาหลีจะกลายเป็นแหล่งการเติบโตของเบี้ยประกันภัยที่ทำกำไรได้ดีสำหรับ Starr ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า”

เกี่ยวกับ Starr Insurance

บริษัท Starr Insurance (หรือ Starr) เป็นชื่อทางการตลาดสำหรับบริษัทประกันภัยและความช่วยเหลือด้านการเดินทางที่ดำเนินงานและบริษัทในเครือของ Starr International Company, Inc. และสำหรับธุรกิจการลงทุนของ C. V. Starr & Co., Inc. และบริษัทในเครือ Starr เป็นองค์กรประกันภัยและการลงทุนชั้นนำที่มีสำนักงานอยู่ใน 6 ทวีป บริษัท Starr ให้บริการผลิตภัณฑ์ประกันภัยทรัพย์สิน ความเสียหาย อุบัติเหตุและสุขภาพ ตลอดจนความคุ้มครองเฉพาะทางต่างๆ เช่น การบิน ทางทะเล พลังงาน และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนเกินผ่านบริษัทประกันภัยที่ดำเนินงานร่วม บริษัทประกันภัยในเครือของ Starr ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในสหรัฐอเมริกา เบอร์มิวดา จีน ฮ่องกง มอลตา สิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ต่างก็ได้รับการจัดอันดับ A.M. Best ในระดับ “A” (ยอดเยี่ยม) ส่วนสมาคม Starr's Lloyd's นั้นได้รับการจัดอันดับ Standard & Poor's ในระดับ “A+” (แข็งแกร่ง)

เยี่ยมเยียนเราได้ที่ www.starrcompanies.com หรือติดตามที่ LinkedIn และ X

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย
ติดต่อ

Charlie Armstrong
รองประธานฝ่ายการตลาด
charlie.armstrong@starrcompanies.com, 646.758.8308

แหล่งที่มา: Starr Insurance

ผลสำรวจ FICO เผย ผู้บริโภคชาวไทยยอมรับ “การขอสินเชื่อด้วยข้อมูลเท็จ” ในระดับที่น่ากังวล

Logo

คนไทยเกือบ 1 ใน 4 คิดว่าการจงใจให้ข้อมูลผิดๆ เพื่อขอสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่ออื่นๆ เป็นสิ่งที่ยอมรับได้

กรุงเทพ–(BUSINESS WIRE)–24 กันยายน 2024

FICO (NYSE: FICO):

23% of Thais thought it was OK for people to exaggerate income on a loan application with a further 16% saying it was normal for people to do this. (Graphic: FICO)

คนไทย 23% คิดว่าการให้ข้อมูลรายได้เกินจริงเมื่อสมัครขอสินเชื่อเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ในขณะที่อีก 16% ระบุว่าการกระทำเช่นนี้เป็นเรื่องปกติ (กราฟิก: FICO)

ประเด็นสำคัญ

  • คนไทยจำนวน 2 ใน 5 (คิดเป็น 39%) คิดว่าการให้ข้อมูลรายได้ของตนที่มากเกินจริงเมื่อสมัครขอสินเชื่อเป็นเรื่องปกติหรือยอมรับได้
  • คนไทยจำนวน 1 ใน 7 (คิดเป็น 14%) มองว่าการให้ข้อมูลรายได้ของตนอย่างไม่ถูกต้องเมื่อสมัครขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องปกติ
  • การปลอมแปลงใบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันเป็นรูปแบบการฉ้อโกงที่คนไทยรับไม่ได้ที่สุด โดยคนไทยจำนวน 2 ใน 3 (คิดเป็น 68%) มองว่าเป็นการกระทำที่ไม่อาจยอมรับได้

FICO ซึ่งเป็นผู้นำด้านซอฟต์แวร์เพื่อการวิเคราะห์ระดับโลกในปัจจุบันได้เปิดเผยผลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับการฉ้อโกงของผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งเผยให้เห็นทัศนคติที่น่าตกใจเกี่ยวกับการฉ้อโกงทางการเงินของบุคคลที่หนึ่งทั้งในตลาดทั่วโลกและตลาดในประเทศไทย

ผลการสำรวจพบว่า แม้ว่าผู้ทำแบบสำรวจชาวไทยส่วนใหญ่มองว่าการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จเมื่อสมัครผลิตภัณฑ์ทางการเงินและเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจะเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ แต่ประชากรจำนวนมากกลับไม่คิดเช่นนั้น

ชาวไทยจำนวน 2 ใน 5 คิดว่าการให้ข้อมูลรายได้ของตนอย่างไม่ถูกต้องเมื่อขอเปิดบัญชีธนาคาร (คิดเป็น 39%) สมัครขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย (คิดเป็น 39%) และสมัครขอสินเชื่อรถยนต์ (คิดเป็น 39%) เป็นเรื่องปกติหรือยอมรับได้ในบางกรณี นอกจากนี้ ชาวไทยจำนวน 2 ใน 5 (คิดเป็น 39%) ยังมองว่าการให้ข้อมูลรายได้ที่มากเกินจริงเมื่อสมัครขอสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นเรื่องปกติหรือยอมรับได้

มุมมองเหล่านี้สอดคล้องกับทัศนคติของผู้คนทั่วโลกเป็นอย่างมาก โดยผลการสำรวจเปิดเผยว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (คิดเป็น 56%) ปฏิเสธอย่างหนักแน่นต่อแนวคิดในการให้ข้อมูลรายได้ที่มากเกินจริงเมื่อสมัครขอสินเชื่อ โดยมองว่าเป็นการกระทำที่ไม่อาจยอมยอมรับได้เป็นอย่างยิ่ง ในขณะที่ผู้บริโภคจำนวน 1 ใน 4 (คิดเป็น 24%) คิดว่าเป็นการกระทำที่ยอมรับได้ในบางสถานการณ์ และผู้บริโภคจำนวน 1 ใน 7 (คิดเป็น 15%) มองว่าเป็นเรื่องปกติ

“ผู้บริโภคต้องเข้าใจว่าการให้ข้อมูลผิดๆ เมื่อสมัครผลิตภัณฑ์ทางการเงินอาจทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ร้ายแรงตามมาได้ แม้ว่าจะให้ข้อมูลผิดๆ โดยไม่ตั้งใจก็ตาม” คุณ Aashish Sharma หัวหน้าส่วนงานด้านการจัดการวงจรความเสี่ยงและการตัดสินใจประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ FICO กล่าว “ธนาคารสามารถแก้ไขปัญหาที่แท้จริงเกี่ยวกับ “การขอสินเชื่อด้วยข้อมูลเท็จ” ได้โดยปรับปรุงความสามารถในการตรวจจับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยป้องกันหนี้เสีย และในขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้ลูกค้ากระทำการฉ้อโกงได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.fico.com/en/latest-thinking/ebook/consumer-survey-2023-digital-banking-customer-preferences-and-fraud-controls

การยอมรับการสมัครขอสินเชื่อที่ส่อทุจริตสร้างความวิตกกังวลให้กับบรรดาผู้ให้กู้

ผลสำรวจของ FICO เปิดเผยว่าผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 1 ใน 4 (คิดเป็น 25%) มองว่าการให้ข้อมูลเท็จเมื่อสมัครขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในบางกรณี ในขณะที่ผู้บริโภคจำนวน 1 ใน 5 (คิดเป็น 14%) มองว่าเป็นเรื่องปกติ ข้อมูลนี้สอดคล้องกับปัญหาการผิดนัดชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ตามรายงานของสถาบันข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ที่เน้นย้ำถึงความท้าทายด้านการประเมินความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาบันการเงินในประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้

แม้ว่าข้อมูลในใบสมัครขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้าเดิมจะดูถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็อาจมีการใช้ความสัมพันธ์ด้านการธนาคารที่มีมาแต่เดิมเพื่อกระทำการฉ้อโกงได้เช่นกัน ผู้สมัครสามารถบิดเบือนกระบวนการกู้ยืมด้วยการให้ข้อมูลรายได้ที่สูงกว่าความเป็นจริง เช่น ใส่ข้อมูลรายรับจากการประกอบอาชีพอิสระหรือเงินโบนัสที่มากเกินจริง รวมถึงไม่ใส่ข้อมูลหนี้สินหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเงินส่วนตัวที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ให้กู้ตรวจพบข้อมูลที่คลาดเคลื่อนเหล่านี้ได้ยากหากไม่มีมาตรการตรวจสอบความถูกต้องในเชิงรุกและละเอียดถี่ถ้วน

“ธนาคารจำเป็นต้องยกระดับกลยุทธ์การประเมินความเสี่ยงเพื่อรับมือกับการสมัครขอสินเชื่อที่ส่อทุจริต” คุณ Sharma กล่าว “กลยุทธ์นี้ควรประกอบไปด้วยการบูรณาการการวิเคราะห์ข้อมูลที่ครอบคลุม การนำการวิเคราะห์การตรวจหาความผิดปกติมาใช้ และเพิ่มความสามารถในการตรวจหาสัญญาณเริ่มต้นของการฉ้อโกงแบบบัญชีฉ้อฉลหรือการฉ้อโกงที่กำลังจะเกิดขึ้น”

การปลอมแปลงใบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันเป็นการฉ้อโกงที่รับไม่ได้ที่สุด

งานวิจัยของ FICO ระบุว่า การปลอมแปลงใบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเป็นรูปแบบการฉ้อโกงที่หลายคนรับไม่ได้ที่สุด โดยผู้บริโภคทั่วโลกประมาณ 2 ใน 3 คิดว่าการแจ้งมูลค่าทรัพย์สินที่ถูกขโมยสูงเกินจริงหรือเพิ่มรายการสิ่งเรียกร้องสินไหมทดแทนเท็จเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้โดยสิ้นเชิง ซึ่งมุมมองนี้สอดคล้องกับความเห็นของผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 2 ใน 3 (คิดเป็น 68%)

ทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ที่เปลี่ยนไปก็สอดคล้องกับแนวโน้มทั่วโลกเช่นกัน โดยผู้บริโภคที่โลกครึ่งหนึ่งรวมถึงผู้บริโภคชาวไทยกว่าครึ่งหนึ่งมีความเห็นว่าการให้ข้อมูลรายได้เกินจริงเมื่อทำสัญญาโทรศัพท์มือถือ (คิดเป็น 55%) หรือการสมัครขอสินเชื่อรถยนต์ (คิดเป็น 57%) เป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้

“ผลสำรวจของ FICO เผยให้เห็นว่าผู้คนจำนวนมากปรับเปลี่ยนมุมมองที่ตนมีต่อการฉ้อโกงการสมัครขอสินเชื่อตามแต่สถานการณ์” คุณ Sharma กล่าว “สถาบันการเงินต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ป้องกันการฉ้อโกงอยู่เสมอ เพื่อให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างเท่าทัน ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจว่าลูกค้าจะไม่ถูกชักจูงให้ทำกิจกรรมที่ผิดจริยธรรมหรือผิดกฎหมายโดยไม่ตั้งใจ”

การสำรวจนี้จัดทำขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2023 โดยบริษัทวิจัยอิสระซึ่งปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรมการวิจัย โดยมีชาวไทยในวัยผู้ใหญ่ 1,002 คนทำแบบสำรวจนี้ รวมถึงผู้บริโภครายอื่นๆ อีกราว 12,000 คนในแคนาดา สหรัฐอเมริกา บราซิล โคลอมเบีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย สหราชอาณาจักร และสเปน

สามารถรับชมภาพในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่: https://www.businesswire.com/news/home/54124883/en

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

ข้อมูลติดต่อ

Lizzy Li
RICE for FICO
+65 9034 7768
lizzy.li@ricecomms.com

Saxon Shirley
FICO
+65 9171 0965
saxonshirley@fico.com

ที่มา: FICO.

SCF เข้าซื้อกิจการ Newpark Fluids Systems

Logo

HOUSTON–(BUSINESS WIRE)–14 กันยายน 2024

SCF Partners, Inc. (“SCF”) มีความยินดีประกาศการเข้าซื้อกิจการธุรกิจ Newpark Fluids Systems business (“NFS”) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโซลูชันน้ำมันและก๊าซธรรมชาติและของเหลวความร้อนใต้พิภพชั้นนำระดับโลกจาก Newpark Resources Inc. (NYSE: NR) Newpark Fluids Systems จัดหาผลิตภัณฑ์สำหรับเจาะแบบครบวงจรและบริการทางเทคนิคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรองรับโดยชุดซอฟต์แวร์การสร้างแบบจำลองดิจิทัลที่สร้างสรรค์ ห่วงโซ่อุปทานระดับโลก และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตในการดำเนินงานสำหรับลูกค้าของเรา

David Paterson CEO ของ Newpark Fluid Systems กล่าว “เรารู้สึกตื่นเต้นในการร่วมเป็นพันธมิตรกับ SCF ความร่วมมือครั้งใหม่นี้จเป็นแหล่งสร้างมูลค่ามหาศาลสำหรับทั้งลูกค้าของเราและทีมงาน Newpark Fluids Systems ทุกคน แผนการเติบโตเชิงกลยุทธ์ระดับโลกของเราจะเร่งตัวภายใต้คณะกรรมการชุดใหม่ที่มุ่งเน้นเฉพาะด้าน ซึ่งมีประสบการณ์และความมุ่งมั่นอย่างมากในด้านพลังงาน ประวัติความสำเร็จที่ไม่มีใครเทียบของ SCF ในอุตสาหกรรมบริการด้านพลังงานระดับโลกเปิดโอกาสอันน่าตื่นเต้นสำหรับเราในอนาคต”

Deviyani Misra-Godwin กรรมการบริหารของ SCF Partners กล่าว “เป็นเวลากว่า 25 ปีแล้วที่ Newpark Fluids Systems ได้รักษาตำแหน่งผู้นำในตลาดของเหลวสำหรับการขุดเจาะและการผลิตทั่วโลก โดยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของลูกค้าด้วยการให้บริการที่มีคุณภาพระดับชั้นนำของอุตสาหกรรม การดำเนินงานทั่วโลก ประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยในระดับควอไทล์ ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นนำ และตำแหน่งที่โดดเด่นในอุตสาหกรรมพลังงานความร้อนใต้พิภพที่กำลังเติบโตของ Newpark Fluid Systems จะช่วยเสริมความสำเร็จในภูมิทัศน์ด้านพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป ร่วมกับทีมผู้นำ เรามุ่งหวังที่จะสร้างมูลค่ามหาศาลให้กับลูกค้าและพนังงานของเราในเส้นทางการเติบโตในอนาคต”

Vinson & Elkins LLP เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายสำหรับ SCF ในการทำธุรกรรมครั้งนี้

เกี่ยวกับ Newpark Fluids Systems

Newpark Fluids Systems เป็นผู้จัดหาผลิตภัณฑ์ของเหลวสำหรับการขุดเจาะและการผลิตแบบครบวงจรและบริการทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องให้แก่ลูกค้าสำหรับโครงการน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานนความร้อนใต้พิภพ โดยโครงการส่วนใหญ่อยู่ที่อเมริกาเหนือ ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา รวมถึงบางประเทศในเอเชียแปซิฟิก NFS ให้แนวทางความรู้ในท้องถิ่นโดยมุ่งเน้นของเหลวใต้พิภพและการเข้าถึงทั่วโลก เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและผลผลิตสำหรับการดำเนินงานของลูกค้าทั่วโลก สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.newpark.com

เกี่ยวกับ SCF Partners

SCF ก่อตั้งขึ้นในปี 1989 โดยให้บริการเงินทุนและความช่วยเหลือด้านการเติบโตเชิงกลยุทธ์ เพื่อสร้างและขยายบริษัทในภาคส่วนการบริการด้านพลังงาน อุปกรณ์ และเทคโนโลยีชั้นนำที่มีการดำเนินงานทั่วโลก SCF มีการลงทุนในบริษัทแพลตฟอร์มมากกว่า 80 แห่ง และเข้าซื้อกิจการเพิ่มเติมอีกกว่า 400 แห่ง เพื่อพัฒนาบริษัทในภาคส่วนการบริการด้านพลังงานและอุปกรณ์ที่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 18 แห่งตลอดประวัติศาสตร์การดำเนินงานของบริษัท บริษัทมีสำนักงานใหญ่ที่ฮูสตัน เท็กซัส และมีสำนักงานที่อเบอร์ดีนและออสเตรเลีย สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.scfpartners.com

เกี่ยวกับ Newpark Resources

Newpark Resources, Inc. เป็นบริษัทให้บริการโซลูชันสำหรับโรงงาน โดยมีการผลิต จำหน่าย และให้เช่าผลิตภัณฑ์คอมโพสิตที่ยั่งยืนและเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม พร้อมบริการครบวงจร รวมถึงการวางแผน โลจิสติกส์ และการแก้ไขปัญหา สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.newpark.com

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

สามารถรับชมภาพในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่: https://www.businesswire.com/news/home/54122034/en

ติดต่อ

Paul Bateman
pbateman@scfpartners.com

แหล่งข้อมูล: SCF Partners

Blackstone ประกาศข้อตกลงการเข้าซื้อกิจการ AirTrunk ด้วยมูลค่า 24 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย

Logo

ซิดนีย์–(BUSINESS WIRE)–04 กันยายน 2024

กองทุนที่บริหารจัดการโดย Blackstone Real Estate Partners, Blackstone Infrastructure Partners, Blackstone Tactical Opportunities และกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นเอกชนของ Blackstone สำหรับนักลงทุนรายบุคคล ร่วมกับ Canada Pension Plan Investment Board (“CPP Investments”) ได้ลงนามในข้อตกลงขั้นสุดท้ายเพื่อเข้าซื้อกิจการ AirTrunk ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มศูนย์ข้อมูลชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จาก Macquarie Asset Management และ Public Sector Pension Investment Board ด้วยมูลค่ากิจการโดยนัยกว่า 24,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยนี่ถือเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดของ Blackstone ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยธุรกรรมดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจสอบการลงทุนจากต่างประเทศของออสเตรเลีย

AirTrunk เป็นแพลตฟอร์มศูนย์ข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีสำนักงานอยู่ในออสเตรเลีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฮ่องกง และสิงคโปร์ มีกำลังการผลิตที่พร้อมให้บริการลูกค้ามากกว่า 800 เมกะวัตต์ และเป็นเจ้าของที่ดินที่สามารถรองรับการเติบโตในอนาคตมากกว่า 1 กิกะวัตต์ทั่วทั้งภูมิภาค

Jon Gray ประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ Blackstone กล่าวว่า “นี่คือ Blackstone ที่ดีที่สุด ซึ่งใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มระดับโลกของเราเพื่อต่อยอดประโยชน์จากแนวคิดบนความมุ่งมั่นสูงสุดของเรา โดย AirTrunk ถือเป็นอีกก้าวสำคัญ เนื่องจาก Blackstone มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลชั้นนำของโลกในระบบนิเวศน์ รวมถึงศูนย์ข้อมูล พลังงาน และบริการที่เกี่ยวข้อง”

Sean Klimczak หัวหน้าฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกของ Blackstone และ Nadeem Meghji หัวหน้าร่วมฝ่ายอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกของ Blackstone กล่าวว่า “โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลกำลังเผชิญกับความต้องการที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งเกิดขึ้นโดยการปฏิวัติของ AI เช่นเดียวกับการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลในวงกว้างของเศรษฐกิจ โดยก่อนที่จะเข้าซื้อกิจการ AirTrunk ผลงานเด่นๆ ของ Blackstone นั้นประกอบด้วยศูนย์ข้อมูลมูลค่า 55,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่กำลังก่อสร้างอยู่ พร้อมด้วยโครงการพัฒนาในอนาคตมูลค่ากว่า 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมมือกับทีมผู้บริหารมากความสามารถของ AirTrunk เพื่อเสริมการเติบโตให้มากขึ้น”

Robin Khuda ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ AirTrunk กล่าวว่า “ธุรกรรมนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของแพลตฟอร์ม AirTrunk ในภาคส่วนที่ทำผลงานได้ดี เนื่องจากเราคว้าโอกาสในการเติบโตครั้งต่อไปจากบริการคลาวด์และ AI และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เรามุ่งหวังที่จะร่วมงานกับ Blackstone และ CPP Investments และได้รับประโยชน์จากเงินทุนมหาศาล ความเชี่ยวชาญในภาคส่วน และเครือข่ายอันทรงคุณค่าในตลาดประเทศต่างๆ ซึ่งจะช่วยรองรับการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของ AirTrunk”

โดยคาดว่าจะมีการใช้จ่ายในด้านเงินทุนประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในสหรัฐอเมริกาในช่วงห้าปีข้างหน้าเพื่อสร้างและอำนวยความสะดวกให้กับศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ โดยยังมีค่าใช้จ่ายด้านเงินทุนอีก 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ซึ่ง Blackstone จะใช้ประโยชน์จากการดำเนินการนี้ในฐานะผู้ลงทุนชั้นนำระดับโลกด้านศูนย์ข้อมูล โดยทาง Blackstone ได้ลงทุนทั้งในส่วนของหนี้และเงินทุนของบริษัทศูนย์ข้อมูลอื่นๆ รวมถึงในฐานะเจ้าของ QTS ซึ่งเป็นบริษัทศูนย์ข้อมูลที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกอย่าง Coreweave และ Digital Realty ด้วย นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการพลังงานของภาคส่วนต่างๆ ในรูปแบบที่แตกต่างกันมากมาย รวมถึงในฐานะผู้ลงทุนในบริษัทพลังงานและสาธารณูปโภค เช่น Invenergy ผู้พัฒนาพลังงานหมุนเวียนอิสระรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

เกี่ยวกับ Blackstone

Blackstone คือบริษัทจัดการสินทรัพย์ทางเลือกที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเรามุ่งมั่นที่จะมอบผลตอบแทนที่คุ้มค่าการลงทุนให้กับนักลงทุนสถาบันและรายบุคคลโดยการเสริมศักยภาพให้กับบริษัทที่เราลงทุนด้วย เรามีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการมูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งรวมถึงกลยุทธ์การลงทุนระดับโลกที่เน้นไปที่อสังหาริมทรัพย์ หุ้นเอกชน โครงสร้างพื้นฐาน ชีววิทยาศาสตร์ หุ้นเพื่อการเติบโต สินเชื่อ สินทรัพย์จริง สินทรัพย์รอง และกองทุนป้องกันความเสี่ยง โดยผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.blackstone.com หรือติดตาม @blackstone บน LinkedIn, X (Twitter) และ Instagram

1 รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านเงินทุนสำหรับโครงการที่ให้สัญญาไว้

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

ข้อมูลติดต่อ

Blackstone Media Contacts
Mariko Sanchanta
Blackstone
mariko.sanchanta@blackstone.com | +852 3656 7738

Hayley Morris
MorrisBrown Communications Pty Ltd
hayley@morris-brown.com.au | +61 407 789 018

แหล่งข้อมูล: Blackstone

การสํารวจ FICO: คนไทย 1 ใน 3 ปฏิเสธการสมัครธนาคารและบัตรเครดิต เนื่องจากการตรวจสอบตัวตนที่ซับซ้อน

Logo

ในโลกที่เน้นดิจิทัลเป็นอันดับแรก การยืนยันตัวตนจะต้องไม่ขัดขวางธุรกิจใหม่

กรุงเทพ–(BUSINESS WIRE)–01 สิงหาคม 2024

(NYSE: FICO)

1 in 3 Thais have abandoned opening a personal bank account due to complex identity checks. (Graphic: FICO)

คนไทย 1 ใน 3 เลิกเปิดบัญชีธนาคารส่วนบุคคล เนื่องจากการตรวจสอบตัวตนที่ซับซ้อน (กราฟิก: FICO)

จุดเด่น

  • ความสะดวกในการใช้งานเป็นสิ่งสําคัญที่สุดสําหรับคนไทย รองลงมาคือการป้องกันการฉ้อโกงที่ดี
  • ผู้บริโภคสองในสามคาดว่าจะตอบคําถามไม่เกิน 10 ข้อ มิฉะนั้นพวกเขาจะละทิ้งการสมัครบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
  • การตรวจสอบตัวตนมีเพิ่มมากขึ้น แต่คนไทยหนึ่งในสามจะหยุดหรือลดการใช้บัญชีที่มีอยู่ หากประสบการณ์การยืนยันตัวตนไม่ดี

FICO ผู้นําด้านซอฟต์แวร์วิเคราะห์ระดับโลก ได้เปิดเผยผลการวิจัยการฉ้อโกงผู้บริโภคทั่วโลกล่าสุด โดยเน้นว่าผู้บริโภคในประเทศไทยมีความอดทนต่ำต่อประสบการณ์ดิจิทัลที่ไม่มีประสิทธิภาพเมื่อเปิดบัญชีผ่านแอปบนมือถือหรือเว็บไซต์ จากการศึกษาพบว่าคนไทยที่เลือกบัญชีการเงินใหม่ ให้ความสําคัญกับความสะดวกในการใช้งานเหนือสิ่งอื่นใด

เกือบสองในสาม (63%) คาดว่าจะตอบคําถามไม่เกิน 10 ข้อ มิฉะนั้นพวกเขาจะละทิ้งการสมัครบัญชีธนาคารส่วนบุคคล มากกว่าหนึ่งในสี่ (26%) จะออกกลางคันหากถูกถามมากกว่าห้าข้อ

ไม่ว่าจะถามคําถามกี่ข้อ หนึ่งในห้าของคนไทยจะเลิกสมัครบัญชีธนาคารส่วนบุคคลหลังจากผ่านไป 10 นาที

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.fico.com/en/latest-thinking/ebook/consumer-survey-2023-digital-banking-customer-preferences-and-fraud-controls

“ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ธนาคารดิจิทัลและต้องการประสบการณ์การเปิดบัญชีที่ราบรื่น” Aashish Sharma หัวหน้าส่วนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้านบริหารจัดการความเสี่ยงในวงจรชีวิตและการตัดสินใจของ FICO กล่าว “เพื่อตอบสนองความคาดหวังเหล่านี้ การวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าขั้นตอนสําคัญที่สถาบันการเงินต้องดําเนินการเพื่อรักษาลูกค้าและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าคือการปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพ”

ความหงุดหงิดเสียดสีมีมากกว่าความกังวลเรื่องการฉ้อโกง

ในปีที่ผ่านมา คนไทยมากกว่าครึ่งสังเกตเห็นการตรวจสอบตัวตนมากขึ้น เมื่อเข้าสู่ระบบบัญชีธนาคาร (60%) หรือซื้อสินค้าออนไลน์ (63%)

การตรวจสอบตัวตนที่เพิ่มขึ้นโดยธนาคารไทยเป็นการตอบสนองโดยตรงต่อปัญหาการโจรกรรมข้อมูลประจําตัวที่สำคัญในประเทศ ผู้บริโภคหนึ่งในแปด(12%) ยืนยันว่าข้อมูลประจำตัวของพวกเขาถูกใช้อย่างฉ้อฉลเพื่อเปิดบัญชี และเกือบครึ่งหนึ่ง (49%) สงสัยว่ามีการใช้ข้อมูลดังกล่าว

อย่างไรก็ตามคามยุ่งยากในการตรวจสอบตัวตนสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ การสํารวจของ FICO เปิดเผยว่าลูกค้าธนาคารหนึ่งในสามได้หยุดหรือลดการใช้บัญชีธนาคารส่วนบุคคลและบัตรเครดิตที่มีอยู่ โดยอ้างถึงกระบวนการยืนยันตัวตนที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน

ขั้นตอนการสมัครสินเชื่อที่อยู่อาศัยสมควรได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดยิ่งขึ้น

ผู้บริโภคชาวไทยแสดงความอดทนต่อกระบวนการเปิดบัญชีในระดับที่แตกต่างกัน พวกเขามีแนวโน้มที่จะละทิ้งการสมัครสินเชื่อส่วนบุคคล (39%) เนื่องจากการตรวจสอบตัวตนที่ซับซ้อนหรือใช้เวลานาน

ประมาณหนึ่งในสาม (35%) ละทิ้งการสมัครบัตรเครดิตด้วยเหตุผลเดียวกัน หรือรู้สึกหงุดหงิดมากพอที่จะละทิ้งการสมัครสินเชื่อที่อยู่อาศัย (30%)

นอกจากนี้ มีผู้บริโภคชาวไทยเพียงหนึ่งในสิบ (10%) เท่านั้นที่รู้สึกสบายใจที่จะเปิดบัญชีสินเชื่อที่อยู่อาศัยผ่านช่องทางดิจิทัล ในขณะที่ 36% เลือกที่จะสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลด้วยตนเองที่สาขา มากกว่าจะเลือกใช้ทางเลือกทางออนไลน์

ในขณะที่ผู้บริโภคบางรายมีความอดทนต่อกระบวนการโดยละเอียดสําหรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางอย่างที่ต้องได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดมากขึ้น แต่การสํารวจแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความคาดหวังในความสะดวกในการใช้งานยังคงอยู่ในระดับสูง

“เนื่องจากมีลูกค้าใช้บริการดิจิทัลมากขึ้น เพื่อการอนุมัติสินเชื่อออนไลน์ที่รวดเร็วขึ้น ธนาคารจึงต้องจัดการและลดความคับข้องใจของผู้บริโภคที่เกิดจากการตรวจสอบตัวตนที่ไม่มีประสิทธิภาพ” Sharma กล่าวเสริม “คนไทยเกือบครึ่งหนึ่ง (44%) จะไม่กรอกใบสมัครสินเชื่อที่อยู่อาศัยดิจิทัลหรือสินเชื่อส่วนบุคคล (48%) หากมีคําถามมากกว่า 10 ข้อ”

การชื่นชมข้อดีของแอปพลิเคชันดิจิทัล

เมื่อถูกถามถึงประโยชน์ของการเปิดบัญชีแบบดิจิทัลผ่านแอปของผู้ให้บริการ ความสะดวกในการใช้งานและความรวดเร็วถูกระบุว่าเป็นข้อได้เปรียบสูงสุด (74%) ในทํานองเดียวกัน คนไทยจัดอันดับความเร็ว (75%) เป็นข้อได้เปรียบสูงสุด ผ่านเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ ตามมาด้วยความสามารถในการเปิดบัญชีได้จากทุกที่ (72%)

ในทางตรงกันข้าม คนไทยสี่ในห้า (80%) เชื่อว่าการสมัครในสาขามีความปลอดภัยที่ดีกว่า โดยมีเพียงหนึ่งในสอง (49%) ที่ถือว่าความปลอดภัยเป็นข้อดีของการสมัครบัญชีดิจิทัลผ่านแอปของผู้ให้บริการ และสองในห้า (42%) ผ่านเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ

“ผู้บริโภคต้องการประสบการณ์การเริ่มต้นใช้งานที่ราบรื่น แต่ความปลอดภัยยังคงเป็นสิ่งสําคัญยิ่ง” Sharma กล่าว “ผู้บริโภคต้องการกระบวนการเริ่มต้นใช้งานและการตรวจสอบตัวตนที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น ไม่ใช่กระบวนการที่มีความเสี่ยงมากขึ้น แม้ว่าพวกเขาจะชื่นชมการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมสําหรับการทำธุรกรรมที่มีมูลค่าสูง แต่พวกเขาคาดหวังว่าธนาคารจะปรับปรุงกระบวนการโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ เช่น การตรวจสอบยืนยันตัวตนที่ได้รับการปรับปรุง การวิเคราะห์ประวัติการทําธุรกรรม ระบบโอเพ่นแบงค์กิ้ง และฐานข้อมูลของรัฐบาล”

การสํารวจนี้ดําเนินการในเดือนพฤศจิกายนปี 2023 โดยบริษัทวิจัยอิสระที่ปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรมการวิจัย จากการสํารวจผู้ใหญ่ชาวไทย 1,002 คน พร้อมด้วยผู้บริโภคอีกประมาณ 12,000 คนในแคนาดา สหรัฐอเมริกา บราซิล โคลอมเบีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย สหราชอาณาจักร และสเปน

เกี่ยวกับ FICO

FICO (NYSE: FICO) ขับเคลื่อนการตัดสินใจที่ช่วยให้ผู้คนและธุรกิจทั่วโลกประสบความสำเร็จ บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 1956 โดยเป็นผู้บุกเบิกการใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์และวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงการตัดสินใจในการดําเนินงาน FICO ถือสิทธิบัตรมากกว่า 200 ฉบับในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศ เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เพิ่มความสามารถในการทํากําไร ความพึงพอใจของลูกค้า และการเติบโตของธุรกิจในด้านบริการทางการเงิน ประกันภัย โทรคมนาคม การดูแลสุขภาพ การค้าปลีก และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย การใช้โซลูชัน FICO ธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ ทําทุกอย่างตั้งแต่การปกป้องบัตรชําระเงิน 4 พันล้านใบจากการฉ้อโกง ไปจนถึงการปรับปรุงการเข้าถึงทางการเงิน ไปจนถึงการเพิ่มความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน คะแนน FICO® ซึ่งใช้โดย 90% ของผู้ให้กู้ชั้นนําของสหรัฐอเมริกา เป็นตัวชี้วัดมาตรฐานของความเสี่ยงด้านเครดิตผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา และมีให้บริการในประเทศอื่นๆ กว่า 40 ประเทศ ซึ่งช่วยปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง การเข้าถึงสินเชื่อ และความโปร่งใส เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ www.fico.com

เข้าร่วมการสนทนาที่ https://x.com/FICO_corp & http://www.fico.com/en/blogs/

สําหรับข่าวสารและแหล่งข้อมูลสื่อของ FICO โปรดไปที่ www.fico.com/news

FICO เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Fair Isaac Corporation ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ

สามารถรับชมภาพในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่: https://www.businesswire.com/news/home/ 54094019/en

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

ติดต่อ

Lizzy Li

RICE สําหรับ FICO

+65 9034 7768
lizzy.li@ricecomms.com

Saxon Shirley

FICO

+65 9171 0965
saxonshirley@fico.com

ที่มา: FICO

กลุ่ม SCBX ผนึกกำลัง SambaNova เพิ่ม “ไต้ฝุ่น” โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่ บน Samba-1 พร้อมให้นักพัฒนา AI ทั่วโลกสามารถใช้งานได้แล้ววันนี้

Logo

เปาโล อัลโต, แคลิฟอเนีย –(BUSINESS WIRE)–10 กรกฎาคม 2024

กลุ่ม SCBX นำโดย เอสซีบี เอกซ์ (SCBX) และเอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) เดินหน้าผลักดันระบบนิเวศและคอมมูนิตี้ AI ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของกลุ่ม SCBX ในการเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย AI หรือ AI-First Organization  ล่าสุด ผนึกกำลัง SambaNova Systems บริษัทผู้ให้บริการโซลูชันด้าน Generative AI ที่รวบรวมโมเดลที่เร็วที่สุด และ Chips ที่ทันสมัยที่สุด นำ “ไต้ฝุ่น” (Typhoon) โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่ (Thai Large Language Model) เปิดให้บริการบนแพลตฟอร์ม Samba-1 Composition of Experts (CoE) เพื่อให้นักพัฒนา AI ทั่วโลกสามารถใช้ต่อยอดและพัฒนาแอปพลิเคชันด้าน AI บนแพลตฟอร์ม Samba-1 ได้แล้ววันนี้

The power and scalability of Samba-1 is now enhanced with Typhoon, a series of Thai Large Language Models (LLMs) (Graphic: Business Wire)

เข้าถึงประสิทธิภาพอีกขั้นของโมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่ “ไต้ฝุ่น” ได้บน Samba-1 แล้ววันนี้ (กราฟิก: Business Wire)

นายกสิมะ ธารพิพิธชัย Head of AI Strategy บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB 10X) กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ “ไต้ฝุ่น” โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่ (Thai Large Language Model) ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Samba-1 และพร้อมให้บริการแก่ลูกค้าของ SambaNova ทั่วโลก โดยเราเชื่อมั่นว่า Samba-1 จะช่วยให้โมเดล  “ไต้ฝุ่น” เข้าถึงนักพัฒนานวัตกรรมและแอปพลิเคชันด้าน AI ภาษาไทยได้มากขึ้น”

ล่าสุด “ไต้ฝุ่น” ได้เปิดตัวเวอร์ชัน Typhoon-1.5X ในขนาด 8B และ 70B พัฒนาต่อยอดจากโมเดล Llama3 โมเดลถูกปรับแต่งให้เหมาะสำหรับภาษาไทยโดยมีเทคนิคการฝึกอบรมเพื่อให้เข้าใจบริบทและวัฒนธรรมไทยให้ดียิ่งขึ้น มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโมเดลชั้นนำอย่าง ChatGPT และ GPT-4 นับเป็นก้าวหน้าที่สำคัญของ NLP และ AI ภาษาไทย

“ไต้ฝุ่น” เปิดให้ใช้งานในรูปแบบ Open Beta ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. Pretrained Model โมเดลข้อมูลด้านภาษาไทย ครอบคลุมคำศัพท์ บริบท หรือความแตกต่างทางวัฒนธรรม รวมถึงความรู้ทั่วไปที่เกิดขึ้นทั่วโลก โมเดลนี้เป็น Open Source ที่นักพัฒนาด้าน AI สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีเพื่อนำไปใช้พัฒนาแอปพลิเคชันและนวัตกรรมด้าน AI   2. Instruction-tuned Model โมเดลที่ต่อยอดจาก Pretraining สามารถทำตามคำสั่งที่ป้อนเข้าไป เช่น การแปล การสรุปความ หรือการตอบคำถามได้ดียิ่งขึ้น โดยสามารถเข้าถึงได้ผ่านบริการ API

ด้าน นายกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร Head of R&D and Innovation Lab บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX กล่าวว่า “ไต้ฝุ่น” โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model หรือ LLM) ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาที่มักเจอเมื่อใช้งานโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่พัฒนาโดยชาวต่างชาติและถูกฝึกฝนเป็นภาษาอังกฤษเป็นหลัก เช่น การให้ข้อมูลภาษาไทย แต่ไม่ถูกกับบริบทหรือวัฒนธรรมของคนไทย เป็นต้น อีกทั้งภาษาไทยถูกเก็บข้อมูลสำหรับใช้พัฒนาโมเดลภาษาไว้น้อยมาก (Low Resource Language)  เช่นเดียวกับภาษาอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดปัญหาช่องว่างทางภาษา เราเชื่อว่าการนำโมเดล “ไต้ฝุ่น” ไปอยู่บน Samba-1 จะช่วยให้นักพัฒนาด้าน AI ได้รับประสบการณ์ (User Experience) ที่ดีขึ้น พร้อมมีส่วนช่วยยกระดับนวัตกรรมด้าน AI และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรม AI ของไทย”

ขณะที่ มร.โรดริโก เหลียง (Rodrigo Liang) ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของ SambaNova Systems กล่าวว่า “Samba-1 นำเสนอโมเดล Open Source ที่ทันสมัยที่สุด ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาแอปพลิเคชันและนวัตกรรมด้าน AI เข้าถึงโมเดล AI ที่ดีที่สุดและเร็วที่สุดในโลก โดยการเข้าร่วมของ “ไต้ฝุ่น” ครั้งนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของเรา อีกทั้งเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้นำ “ไต้ฝุ่น” เข้าสู่ Samba-1 ร่วมกับโมเดลชั้นนำระดับโลก” 

“นักพัฒนาด้าน AI ในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมด้านการเงินการธนาคารจะมีแพลตฟอร์มใหม่ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาแอปพลิเคชันและนวัตกรรมด้าน AI ของพวกเขา การนำโมเดล “ไต้ฝุ่น” มาอยู่บนแพลตฟอร์ม Samba-1 Composition of Experts จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของโมเดล “ไต้ฝุ่น” และลดต้นทุนการใช้งานให้น้อยลงกว่าที่เคย” มร.มาร์แชล ชอย (Marshall Choy) SVP Product ของ SambaNova Systems กล่าวเสริม

“ไต้ฝุ่น” ได้เป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม Samba-1 Composition of Experts ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ SambaNova ที่รวบรวมโมเดลสำหรับพัฒนานวัตกรรมด้าน AI ที่หลากหลายและสามารถแนะนำโมเดลเฉพาะทางที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้อย่ามีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการผู้ใช้งาน นอกจากนี้ “ไต้ฝุ่น” ทำงานบนชิป SN40L ของ SambaNova ด้วยหน่วยความจำ Dataflow 3 ชั้น ซึ่งช่วยให้การประมวลผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

#############

เกี่ยวกับบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) (SCBX)

SCBX เป็นยานแม่ของกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน โดยมี 12 บริษัทภายใต้กลุ่มฯ ครอบคลุม 3 กลุ่มธุรกิจสำคัญ ได้แก่ ธุรกิจธนาคาร (Banking Business) ธุรกิจบริการทางการเงินดิจิทัลและสินเชื่อเพื่อรายย่อย (Consumer and Digital Finance Business) ธุรกิจแพลตฟอร์มและเทคโนโลยี (Platform and Technology Business) รวมถึง Climate Technology มุ่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การเป็นกลุ่มเทคโนโลยีทางการเงินระดับภูมิภาคที่น่าชื่นชม ดำเนินธุรกิจด้วยความคล่องตัว รอบคอบในการกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยง ตลอดจนมีขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันกับคู่แข่งระดับโลกได้อย่างทัดเทียม

เกี่ยวกับบริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB 10X)

บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด เป็นบริษัท ในกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ก่อตั้งเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ภายใต้ภารกิจ “Moonshot Mission” มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการลงทุนที่สามารถสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด เรามุ่งเน้นการลงทุนในกลุ่มธุรกิจด้าน Disruptive Technology: Web3 (Blockchain, Digital Assets, Web3 และ Metaverse), Deep Tech AI/ML และ FinTech ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://scb10x.com/  

เกี่ยวกับ SambaNova Systems

SambaNova เปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงโมเดลด้าน AI ที่ล้ำสมัยได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถแนะนำโมเดลให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้พัฒนา SambaNova Systems มีสำนักงานใหญ่ในเมืองพาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งขึ้นในปี 2560 โดยผู้ทรงคุณวุฒิในอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์จาก Sun/Oracle และ Stanford University บริษัทมีผู้ร่วมลงทุน ได้แก่ SoftBank Vision Fund 2, กองทุนและบัญชีที่จัดการโดย BlackRock, Intel Capital, GV, Walden International, Temasek, GIC, Redline Capital, Atlantic Bridge Ventures, Celesta และอื่นๆ อีกมากมาย ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ info@sambanova.ai   หรือ ติดตาม SambaNova Systems บน Linkedin และบน X

เกี่ยวกับโมเดล “ไต้ฝุ่น” (Typhoon Thai LLM)

“ไต้ฝุ่น” (Typhoon) โมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่พัฒนาขึ้นสำหรับภาษาไทยโดยเฉพาะ (Large Language Model optimized for Thai) ซึ่งนับเป็นโมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่ที่ดีที่สุดในปัจจุบันและมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ GPT-3.5 และ GPT-4 ในภาษาไทย โดยวัดจาก Benchmark ที่รวบรวมและจัดเตรียมมาจากข้อสอบภาษาไทยความยากเทียบเท่าข้อสอบมัธยมปลายและข้อสอบมาตรฐานอื่นๆ ในประเทศไทย โดย “ไต้ฝุ่น” (Typhoon) ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาช่องว่างทางภาษาที่โมเดลส่วนใหญ่ในปัจจุบันถูกฝึกฝนเป็นภาษาอังกฤษเป็นหลัก รวมถึงข้อจำกัดด้านทรัพยากรของภาษาไทยที่ไม่มีข้อมูลมากเพียงพอ (Low Resource Language) ผู้สนใจและนักพัฒนาทดลองสามารถดาวน์โหลด Typhoon Model เพื่อต่อยอดในการพัฒนาแอปพลิเคชันและนวัตกรรมด้าน AI ได้ฟรีตั้งแต่วันนี้ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ https://opentyphoon.ai/

คำกล่าวอ้าง: 

  • การตอบสนองที่สร้างโดยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) นี้สร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ และไม่ได้ถูกประมวลขึ้นเพื่อสะท้อนถึงมุมมองหรือตำแหน่งขององค์กรที่กำลังพัฒนา บริษัทในเครือ หรือพนักงานคนใดคนหนึ่ง 
  • การตอบสนองที่สร้างโดย AI เหล่านี้ไม่ได้เป็นคำตอบจากตัวแทนขององค์กรหนึ่งองค์กรใด องค์กรไม่รับรอง สนับสนุน ในการนำความคิดเห็น  หรือข้อความที่สร้างโดย AI นี้ ไปใช้โดยตรง
  • ความคิดเห็นหรือข้อความที่ถูกประมวลจาก AI นี้ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะใส่ร้ายศาสนา กลุ่มชาติพันธุ์ สโมสร องค์กร บริษัท บุคคล ใครก็ตาม โปรดใช้วิจารณญาณในการนำคำตอบสนองของ AI นี้ไปใช้

สามารถรับชมภาพในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่: https://www.businesswire.com/news/home/54092674/en

ติดต่อ

Virginia Jamieson
SambaNova Systems
(650) 279-8619
virginia.jamieson@sambanova.ai

Thanandorn Panichnok
Thanandorn@scb10x.com
+66869195552

การสำรวจ FICO: คนไทยเกือบ 1 ใน 2 กังวลเกี่ยวกับการถูกหลอกลวงเนื่องจากความเสี่ยงในการชำระเงินแบบเรียลไทม์เพิ่มมากขึ้น

Logo

คนไทย 45% กังวลมากที่สุดเกี่ยวกับการถูกหลอกให้จ่ายเงินให้กับอาชญากร

กรุงเทพมหานคร–(BUSINESS WIRE)–23 พฤษภาคม 2024

(NYSE: FICO)

ประเด็นสำคัญ

  • การฉ้อโกงการชำระเงินเป็นปัญหาอาชญากรรมทางการเงินอันดับหนึ่งสำหรับคนไทย 45%
  • ความกังวลเรื่องการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวยังคงมีอยู่ โดย 61% เชื่อว่ามีหรืออาจตกเป็นเหยื่อ
  • 36% ของผู้บริโภคชาวไทยยกให้การป้องกันการฉ้อโกงและการหลอกลวงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับบัญชีการเงินใหม่

FICO ผู้เป็นบริษัทซอฟต์แวร์สำหรับการวิเคราะห์ชั้นนำระดับโลก ได้เปิดเผยผลการวิจัยเรื่องการฉ้อโกงผู้บริโภคระดับโลกล่าสุด ซึ่งเผยให้เห็นถึงความเข้าใจของคนไทยเกี่ยวกับการหลอกลวงในการชำระเงินแบบเรียลไทม์ท่ามกลางกระแสการใช้ช่องทางการชำระเงินใหม่ ที่สะดวก และรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า ความกังวลหลักสำหรับคนไทยยังคงเป็นเรื่องความเสี่ยงที่จะถูกหลอกให้ส่งเงินไปให้อาชญากร (45%) ซึ่งทำให้บุคคลต้องพบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นทันทีและไม่สามารถเพิกถอนได้ซึ่งแทบจะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินคืน

นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลยังคงมีอยู่ โดยมีคนไทย 25% ระบุว่าเป็นปัญหาอาชญากรรมทางการเงินอันดับต้นๆที่พวกเขากังวล การฉ้อโกงประเภทนี้ยังมีความเสี่ยงอื่นๆนอกเหนือไปจากการสูญเสียทางการเงิน เช่น คะแนนเครดิตที่ลดลงและกระบวนการที่ท้าทายในการฟื้นฟูความสมบูรณ์ทางการเงิน

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.fico.com/en/latest-thinking/ebook/consumer-survey-2023-digital-banking-customer-preferences-and-fraud-controls

“การนำการชำระเงินแบบเรียลไทม์มาใช้อย่างรวดเร็วในประเทศไทยทำให้ประเทศไทยตกเป็นเป้าหมายสำคัญของมิจฉาชีพในภูมิภาคนี้” C K Leo หัวหน้าฝ่ายการฉ้อโกง การรักษาความปลอดภัย และอาชญากรรมทางการเงินของ FICO ในเอเชียแปซิฟิกกล่าว “ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นของคนไทยเกี่ยวกับการหลอกลวงการชำระเงิน และเนื่องจากการชำระเงินแบบเรียลไทม์มีเพิ่มมากขึ้น เรากำลังเห็นการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมทางการเงิน แต่ด้วยการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเพิ่มการเฝ้าระวังผู้ฉ้อโกงที่แฝงตัวอยู่ในอาณาจักรดิจิทัล”

ความตระหนักเรื่องการโจรกรรมข้อมูลประจำตัวในประเทศไทยสูงที่สุดในเอเชีย

อัตราของผู้ตอบแบบสอบถามที่รายงานว่าข้อมูลระบุตัวตนที่ถูกขโมยไปถูกใช้เพื่อเปิดบัญชีทางการเงินในประเทศไทยนั้นสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่สำรวจอย่างมาก 12% ของคนไทยระบุว่าข้อมูลประจำตัวของพวกเขาถูกขโมยและถูกใช้เพื่อเปิดบัญชีโดยมิจฉาชีพ ในขณะที่รายงานเดียวกันนี้มีชาวฟิลิปปินส์เพียง 5% และชาวอินโดนีเซียเพียง 3% เท่านั้น เมื่อพิจารณาจากประชากรผู้ใหญ่ของประเทศไทย อัตรา 12% นี้จึงแปลว่ามากกว่า 8.6 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความกังวลอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล แต่ก็ยังมีความไม่สอดคล้องกันระหว่างการรับรู้และความเป็นจริงในหมู่คนไทย ประมาณ 17% เชื่อว่าไม่น่าเป็นไปได้ที่พวกเขาจะกลายเป็นเหยื่อ ในขณะที่ 31% มองว่าเป็นไปได้ และ 14% มั่นใจว่าตัวตนของพวกเขายังคงไม่มีใครแตะต้อง

“แม้ว่าบางคนอาจมองข้ามความเสี่ยงของการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวในประเทศไทย แต่คนนับล้านยังคงมีความเสี่ยงอยู่” Leo กล่าวเสริม “สิ่งนี้ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการเพิ่มความตระหนักรู้และมาตรการเชิงรุก ด้วยการทำลายไซโล (Silo) และบูรณาการการตรวจสอบตัวตนและกระบวนการตรวจจับการฉ้อโกง เราจึงสามารถปรับปรุงแอปพลิเคชันและเสริมสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้าที่ถูกกฎหมายได้”

คนไทยแสวงหาความสมดุลระหว่างการป้องกันการฉ้อโกงที่ดีและความสะดวกสบาย

เมื่อเลือกผู้ให้บริการรายใหม่สำหรับบัญชีการเงิน ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการป้องกันการฉ้อโกงที่มีประสิทธิภาพและความสะดวกในการใช้งานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การป้องกันการฉ้อโกงที่ดีนั้นล้ำหน้าไปมาก ได้รับการจัดอันดับให้เป็นคุณภาพที่สำคัญที่สุดโดยผู้บริโภคชาวไทย 36%  ในขณะที่ความสะดวกในการใช้งานก็มีความสำคัญเช่นกัน คิดเป็นอัตรา 36% ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น การบริการลูกค้าที่ดี นโยบายต่อต้านการฟอกเงินที่เข้มงวด แนวทางปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี การใช้ข้อมูลลูกค้าอย่างมีจริยธรรม การปฏิบัติที่เป็นธรรม และความคุ้มค่าคุ้มราคา ถือว่ามีความสำคัญน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

“การป้องกันการฉ้อโกงถูกมองว่าเป็นจุดขายมากกว่าที่จะเป็นเพียงศูนย์ต้นทุนสำหรับธนาคาร” Leo กล่าวสรุป “ผู้บริโภคตระหนักดีว่าภัยคุกคามจากการโจรกรรมส่วนใหญ่เป็นแบบออนไลน์อยู่ในขณะนี้ ทำให้การป้องกันการฉ้อโกงที่แข็งแกร่งเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการตัดสินใจของพวกเขาด้วย”

การสำรวจนี้จัดทำขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2023 โดยบริษัทวิจัยอิสระที่ปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรมการวิจัย จากการสำรวจผู้ใหญ่ชาวไทยจำนวน 1,002 คน พร้อมด้วยผู้บริโภคอีกประมาณ 12,000 คนในแคนาดา สหรัฐอเมริกา บราซิล โคลอมเบีย เม็กซิโก อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และสเปน

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

ติดต่อ

Lizzy Li
RICE สำหรับ FICO
+65 9034 7768
lizzy.li@ricecomms.com

Saxon Shirley
FICO
+65 9171 0965
saxonshirley@fico.com

แหล่งที่มา: FICO.

Pacific Prime Thailand คว้ารางวัล International Broker Award ที่มียอดขายสูงสุดจาก AXA

Logo

BANGKOK–(BUSINESS WIRE)–17 พฤษภาคม 2024

Pacific Prime บริษัทนายหน้าประกันภัยระหว่างประเทศ ได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะคว้ารางวัลยอดขายสูงสุดจาก AXA – International Broker Award 2024 ในวันที่ 25 เดือนเมษายน ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ประเทศไทย โดยมีการจัดพิธีมอบรางวัล AXA Awards 2024 ในธีม “Journey to the Everest” พร้อมนักแสดงชั้นนำทุกคนมาร่วมเฉลิมฉลองช่วงเวลานี้แห่งปี

From left to right: Claude Seigne (CEO of AXA Thailand), Naambo Shivute (Key Account Manager of Pacific Prime), Ricky Batten (General Manager of Pacific Prime) (Photo: Business Wire)

จากซ้ายไปขวา: Claude Seigne (CEO ของ AXA Thailand), Naambo Shivute (ผู้จัดการฝ่ายลูกค้าหลักของ Pacific Prime), Ricky Batten (ผู้จัดการทั่วไปของ Pacific Prime) (ภาพถ่าย: Business Wire)

รางวัลอันทรงเกียรตินี้เป็นการยกย่องความมุ่งมั่นของ Pacific Prime ในการสร้างยอดขายสูงสุดในตลาด ประกันสุขภาพส่วนบุคคล  (IPMI) ตลอดปีที่ผ่านมา โดยแสดงถึงความรู้ การบริการ และความเป็นมืออาชีพที่ไม่มีใครเทียบได้ในอุตสาหกรรม

Ricky Batten ผู้จัดการทั่วไป และ Naambo Shivute ผู้จัดการฝ่ายลูกค้าหลักของ Pacific Prime รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับรางวัลนี้ในนามของทีมงานทุกคน ผมขอขอบคุณทีมงาน AXA ทุกคนที่ให้การสนับสนุน รางวัลนี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในการนำเสนอโซลูชันการประกันภัยที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการรักษาพยาบาลสำหรับลูกค้าของเรา แต่อย่างไรก็ตาม นี่ยังห่างไกลจากจุดหมายปลายทางของเรา โดยเราจะยังคงปรับปรุงกระบวนการประกันภัยสำหรับลูกค้าของเราอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมมือกับ AXA และก้าวล้ำไปอีกขั้นด้วยการบริการลูกค้าเฉพาะด้าน เพื่อบรรลุความสำเร็จตามที่เราตั้งมั่นไว้

การเฉลิมฉลองในครั้งนี้ไม่เพียงเฉพาะมีการประดับสายรุ้งและดอกไม้เท่านั้น แต่ยังเป็นงานการมอบตำแหน่ง CEO โดย Claude Seigne จะอำลาตำแหน่ง และมอบตำแหน่งให้กับ Guillaume Mirabud การเปลี่ยนแปลงในระดับผู้บริหารนี้เป็นเรื่องที่ไม่คาดคิด แต่ความร่วมมือระหว่าง Pacific Prime และ AXA จะยังคงมั่นคงอยู่เสมอ โดยจะมีการนำพาทั้งสององค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างแน่นอน

เกี่ยวกับ Pacific Prime

Pacific Prime ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 โดยเป็นนายหน้าประกันภัยและผู้เชี่ยวชาญด้านผลประโยชน์สำหรับพนักงานระดับโลกที่ได้รับรางวัล ซึ่งนำเสนอโซลูชันการประกันภัยส่วนบุคคลและองค์กร ด้วยเบี้ยประกันภายใต้การบริหารมูลค่า 750 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปัจจุบัน Pacific Prime กลายเป็นตัวแทนด้านผลประโยชน์สำหรับพนักงานรายใหญ่อันดับสามในเอเชียแปซิฟิก หลังจากการเข้าซื้อกิจการตัวแทนของ CXA Group ในปี 2021 บริษัทนายหน้านี้มีพนักงานมากกว่า 1,000 คน และมีสำนักงาน 15 แห่งทั่วโลก รวมถึงฮ่องกง สิงคโปร์ จีน ไทย มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย

สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Pacific Prime ได้ที่: https://www.pacificprime.com/corporate

เกี่ยวกับ AXA Group

AXA เป็นบริษัทประกันภัยและบริการทางการเงินระดับโลกที่มีการดำเนินงานในกว่า 60 ประเทศ ด้วยการมุ่งเน้นที่นวัตกรรมและการให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง AXA นำเสนอโซลูชันการประกันภัย การลงทุน และการจัดการสินทรัพย์ที่หลากหลายและครอบคลุมสำหรับลูกค้าส่วนบุคคลและลูกค้าธุรกิจ ด้วยความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการดำเนินงานตามแนวทางปฏิบัติด้านการลงทุนที่ยั่งยืนและมีความรับผิดชอบ AXA มีการให้บริการลูกค้ากว่าหลายล้านรายทั่วโลก โดยให้คำแนะนำและให้การสนับสนุนส่วนบุคคลผ่านเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ ตัวแทน และพันธมิตรอย่างกว้างขวาง

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.axa.co.th

เนื้อหาใจความในภาษาต้นฉบับของข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้เป็นฉบับที่เชื่อถือได้และเป็นทางการ การแปลต้นฉบับนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกเท่านั้น และควรนำไปเทียบเคียงอ้างอิงกับเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ซึ่งเป็นฉบับเดียวที่มีผลทางกฎหมาย

สามารถรับชมภาพในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่: https://www.businesswire.com/news/home/53989006/en

ติดต่อ

Stephen Ho
Chief Marketing Officer
Pacific Prime
+852 3589 0508

แหล่งข้อมูล: Pacific Prime

The Bangkok Reporter